วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ภารกิจที่ 2 “ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”

“ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”
คุณค่าด้านเนื้อหา          กลวิธีการแต่ง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ
          ส่วนนำ  กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ
          เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  เช่น
          "...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น  ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก"  กับใคร ๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา  คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน..."
          ส่วนสรุป  สรุปความเพียงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง  ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา  ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า
          "ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป..."
          สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า
          "เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน  คือ  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง"
                                                       หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ  ข้าวเมล็ดหนึ่ง
                                                       จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
                                                       รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
                                                       แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
                                                       ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  ชาวนายังพรวนดิน
                                                       เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
                                                       ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
                                                       ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
                                                            เปิบข้าวทุกคราวคำ                      จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                       เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                                                           ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                                                       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                            และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                           จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                                       จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                                       ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                 จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                                                       สายเลือดกูท้งสิ้น                                ที่สูชดกำชาบฟัน
          บทกวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย  แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน  คือ  แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือ  ชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์  ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยายเรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง  อย่างไรก็ตามแนวคิดของกวีทั้งสองคนคล้ายคลึงกัน  คือ  ต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยต้องประสบกับความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน
       

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ภารกิจที่ 1 เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์
มงคล มีความหมายตามพจณานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้อธิบายความหมายของคำว่า "มงคล" ไว้ว่า หมายถึง เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญหรือสิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่ และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย ตามหลักพระพุทธศาสนา มงคล หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญมีทั้งสิ้น ๓๘ ประการ

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมา  สมฺพุทฺธสฺสฯ
ต้นมงคลสูตร


          1.          ยญฺจ  ทฺวาทส  วสฺสานิ  จินฺตยิสฺ  สเทวกา
                       สิบสองฉนำเหล่า                              นรอีกสุเทวา
                       รวมกันและตริหา                               สิริมังคลาใด
          2.          จิรสฺสํ จินฺตยนฺตาปี                         เนว ชานิสุ  มงฺคลํ
                       จกฺกวาฬสหสฺเสสุ                          ทสสุ เยน ตตฺตกํ
                       กาลํ  โกลาหลํ ชาตํ                       ยาว  พฺรหฺมนิเวสนา
                       เทวามนุษทวี                                   พหุภพประเทศใน
                       หมื่นจักระวาฬได้                              ดำริห์สิ้นจิรังกาล
                       แล้วยังบ่รู้มง -                                  คะละสมมโนมาลย์
                      ด้วยกาละล่วงนาน                             บ่มิได้ประสงค์สม
                      ได้เกิดซึ่งโกลา -                               หะละยิ่งมโหดม
                      ก้องถึง ณ ชั้นพรหม                          ธสถิตสะเทือนไป
          3.          ยํ โลกนาโถ  เทเสสิ
                       องค์โลกนาถเทศน์                           วรมังคะลาใด

ทั้งสามบทนี้มีใจความสำคัญว่า
คาถาบทที่ 1          ไม่ควรคบคนชั่วเพราะจะพาให้เราประพฤติชั่วไปด้วย  ควรคบคนดีมีความรู้เพราะจะนำเราไปสู่ความ.         สำเร็จ  และควรบูชาคนดี
คาถาบทที่ 2          ควรปฏิบัติตนและอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควรแห่งตน  ทำบุญไว้แต่ปางก่อน
คาถาบทที่ 3          รู้จักฟัง  รู้จักพูด  มีวินัย  ใฝ่ศึกษาหาความรู้


เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง

เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง
             หัวข้อนี้ทำให้ฉันนึกถึงการปกครองของประเทศไทย ซึ่งฟังเสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินเรื่องทุกอย่างที่หาทางแก้ไขด้วยวิธีอื่นไม่ได้ คือการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประชาธิปไตย คือหลักเสียงข้างมาก ยึดถือ หลักนิติศาสตร์ หลักรัฐศาสตร์ เป้าหมายเพื่อความเท่าเทียม และทั่วถึง และตอบโจทย์...ของทุกๆคนในระบอบ
และ หลักเสียงส่วนใหญ่ คือ เสียงที่มากที่สุด จะเป็นผู้ตัดสินใจ หรือ มีสิทธิ์สมบูรณ์ ไม่ได้แปลว่าเท่าเทียม ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่มาจากเสียงส่วนใหญ่จะถูกต้อง เพราะฉันคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีความคิดเพื่อผลประโยชน์ของตนเองทั้งนั้นไม่ว่าจะชนชั้นหรือชนชาติใด ฉันจะยกตัวอย่างอธิบายง่ายๆเช่น ชาวชนบทรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องเสรีภาพที่พวกเขาควรได้รับในการดำเนินชีวิตหรือการประกอบอาชีพมาประท้วงหน้ารัฐสภา เราก็เปรียบได้ว่าชาวชนบทเป็นเสียงส่วนน้อย ส่วนคนในรัฐสภาเป็นเสียงส่วนใหญ่ เราไม่รู้หรอกว่าเสียงไหนถูก แต่ฉันคิดว่าเสียงส่วนใหญ่มีอำนาจที่จะทำให้เสียงส่วนน้อยสิ้นเสียงลงเช่น การยัดเงินเพื่อปิดปาก หรือขู่ทางอ้อม นี่ก็เป็นปัญหาทางการเมืองอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเราต้องร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน แต่เราก็ยังสรุปไม่ได้ว่าเสียงส่วนใหญ่นั้นผิดจริงหรือเปล่า เพราะคนยากที่มองโลกสองแง่ส่วนมากก็จะมองแค่แง่ที่ตนเองชอบหรือเข้าข้างเท่านั้น 
              อาจจะยกตัวอย่างด้านศาสนา คือ ถ้ามีคนอยู่ 20 คน แล้วให้ทั้ง 20 คนตอบคำถามว่า"อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้าคือใคร  ระหว่าง พระมหาโมคคัลลานะ กับ พระสารีบุตร"ถ้า 19 คนตอบว่า พระสารีบุตร คืออัครสาวกเบื้องซ้าย   และอีก 1 คนตอบว่า พระมหาโมคคัลลานะ คืออัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้ที่ตอบเหมือนกันทั้ง 19 คน ถือว่าเป็นเสียงข้างมากตอบผิดหมด และมีเพียง 1 คนเท่านั้นที่ตอบถูก คือตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเสียงข้างมากไม่จำเป็นต้องถูกต้องหรือชนะเสมอไป


สำหรับพรรคการเมืองหนึ่งถ้าเขาเป็นเสียงส่วนน้อย เขาจะเรียก เสียงข้างมาก ว่าผด็จการรัฐสภา

แต่ถ้าเขาได้เป็นระฐบาล เขาจะเรียกเสียงข้างมากว่า กระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย

ใครย้ายเข้าพรรคเขา เขาจะเรียกว่า ผู้มีอุดมการณ์ร่วมกัน
ใครย้ายออกจากพรรค เขาเรียก ถูกซื้อตัว

   มีคำพูดของนักการเมืองพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
           เนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีการเลือกตั้ง ซึ่งในระบบรัฐสภาที่มี ส.ส.หรือ ส.ว.เป็นตัวแทนของประชาชน ที่มีการถกเถียงปัญหาต่างๆ ในสภาฯ และมีการออกเสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ต้องยอมรับในเสียงข้างมากว่าถูกต้อง หากเสียงข้างมากไม่ถูกต้อง ส.ส.ทั้งหมด ไม่ว่าตนเองหรือหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะอยู่ในตำแหน่งผู้แทนสภาฯ ไม่ได้ เพราะ ส.ส.ได้รับการคัดเลือกมาจากเสียงข้างมาก จึงอยากให้ยอมรับในเสียงข้างมาก
          ฉะนั้น ถ้านักการเมือง อ้างเสียงส่วนใหญ่ในระบอบประชาธิปไตย ไปทำสิ่งที่ขัดต่อจริยธรรม ขัดต่อกฏหมาย เช่น ..... ให้พาสปอร์ตนักโทษหนีคดีอาญา .... แก้รัฐธรรมนูญ ล้างผิดให้นักโทษหนีคดีอาญา.......ให้บำเหน็ดคนชั่วเผาบ้านเผาเมืองด้วยภาษีประชาชน..... ถ้าทำเฉกเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย... ก็ต้องเรียกว่าระบอบเสียงข้างมาก...ที่มาจากคนส่วนใหญ่ที่ไม่เสียภาษีเงินได้ และ ด้อยการศึกษา.....