วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รอยเท้าปีศาจ

รอยเท้าปีศาจ

ณ มลฑลเดวอน ดินแดนสวยงามในประเทศอังกฤษ ไก้เกิดเหตุการณ์ประหลาดสร้างความตื่นตระหนกอกสั่นขวัญหาย ให้แก่ผู้พบเห็นเป็นอันมาก และไม่มีใครคิดเลยว่า ดินแดนอันสวยงามนี้จะเกิดเรื่องประหลาดนี้ได้
                ปี 1855 ในช่วงฤดูหนาวเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ อากาศหนาวเยือกเย็นสุดๆ ช่วงแวลานี้ผู้คนมักออกไปเล่นสเก็ตกัน เพราะในบริเวณอ่าวของแม่น้ำเอ็กซ์ จะมีน้ำแข็งเต็มไปหมด ทำให้คนในแถบนั้นได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินกับการเล่นสเก็ตมาก แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความเดือดร้อนมากเช่นกัน เพราะการขนส่งอาหารมายังมณฑลแห่งนี้มักเกิดปัญหาเพราะสภาพดินฟ้าอากาศไม่ปกติ และมีคนเสียชีวิตลงเพราะอากาศหนาวเป็นจำนวนมาก
                และแล้ววันศุกร์ที่ 9 เดือนกุมภาพันธ์ ก็เกิดเรื่องประหลาดขึ้น....
                แถบบริเวณแม่น้ำเอ็กซ์ มีรอยเท้าประหลาดปรากฏอยู่ทั่ว.................... ว่ากันว่ามันเป็นรอยเท้าของปีศาจ
                ลักษณะรอยเท้านั้นไม่ผิดอะไรไปกับรอยเท้าของลา ขนาดของมัน 4 นิ้ว กว้าง 2 นิ้วเศษ แต่รอยเท้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นรอยเท้าใหม่ๆ คล้ายกับว่า เจ้าลาตัวนี้เพิ่งจะเดินไปคือ ลักษณะของรอยเท้านั้นมีทั้งด้านซ้ายและด้านขวาขนานกันไป มันเป็นรอยเท้าเดี๋ยว ๆ เท้าข้างหนึ่งเดินตามรอยของเท้าอีกข้างหนึ่งซึ่งเป็นแถวเดี่ยว ระยะห่างของรอยเท้าแต่ละรอยก็เท่ากันหมด เจ้าสัตว์ประหลาดลึกลับตัวนี้จะย่ำผ่านหรือสวนหลังบ้าน หรือลานถนนนแต่ละแห่งเพียงข้างเดียวเท่านั้น มันกระทำเช่นนี้จะทุกๆ บ้าน ในสวนต่างๆ ของเมืองหลายเมือง และทำเช่นนี้เช่นเดียวกับบรรดาท้องทุ่งต่างๆ กระจัดกระจายออกไป ในบางโอกาสรอยเท้าเหล่านี้มักจะเดินข้ามหลังคาบ้าน หรือลอมฟาง และกำแพงสูง โดยไม่ทำให้หิมะสองข้างที่มันผ่านไปต้องกระทบกระเทือนเลย และไม่ทำให้หิมะสองข้างที่มันผ่านไปต้องกระทบกระเทือนเลย และไม่ทำให้ระยะห่างของรอยเท้าแต่ละก้าวเปลี่ยนแปลงแม้แต่น้อย มันจะเดินต่อไปราวกับว่ากำแพงที่ขวางกั้นนั้นไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเดินทางของมัน แม้กระทั้งรั้วกั้นสูงๆ ประตูที่ปิดกุญแจไว้ มันก็สามารถทะลุผ่านได้ แทบจะกล่าวได้ว่าในคืนเดียวมันสามารถไปโน้นไปนี้รวมระยะกว่า 100 ไมล์ เพื่อทิ้งรอยเท้าเอาไว้ หลายคนอาจเยาะเย้ยและเชื่อไม่ได้ เพราะไม่มีสัตว์ชนิดไหนสามารถทำแบบนี้ภายในคืนเดียว และนอกจากนี้มันจะต้องเดินข้ามปากอ่าวที่เป็นน้ำแข็งกว้างถึง 2 ไมล์อีกด้วย(เนื้อความจากวารสารอิสลัสสเตร็ทเต็ค ลอนดอนนิวส์)
                การปรากฏรอยเท้าประหลาดถูกบันทึกอย่างละเอียดที่เมืองดอร์ลิซ โดยนางสาวเฮนเรียตต้า เฟอร์สคอน พ่อของเธอทำงานเป็นสมภารที่โบสถ์แห่งหนึ่ง เธอบันทึกไว้ดังนี้................
                รอยเท้าประหลาดเหล่านี้ปรากฏขึ้นตอนกลางคืน มันปรากฏเป็นแถวตรง มีลักษณะเหมือนรอยเท้าของม้าขนาดเล็ก และมีรอยเท้าอยู่ที่กีบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกีบม้า การปรากฏตัวของมันเริ่มที่หน้าบ้านของพ่อ และตรงไปที่ห้องสวดมนต์ ส่วนอีกแถวปรากฏขึ้นอีกด้านหนึ่งของกำแพง มีหลายรอยที่ปรากฏตามหลังคาของพวกชาวบ้าน และในที่ต่างๆ ทั่วเมืองดอลิช รอยเท้าเหล่านี้มองเห็นได้อย่างชัดเจน ติดหูติดตา จนรู้สึกถึงความน่ากลัวของมันอย่างยิ่ง
                หนังสือพิมพ์ทอร์คีย์ไดเร็ตคตอรี่ได้รายงานว่าพวกพ่อค้าและคนอื่นๆ ต่างพาถือปืนและไม้พลองออกลาดตระเวณแกะรอยเท้าประหลาดนี้เกือบทั้งหมู่บ้านแมมเฮ็ค ซึ่งอยู่ถัดไปจากทิศเหนือของแม่น้ำ
                ต่อมา รอยเท้าประหลาดเหล่านี้ก็ปรากฏขึ้นอีกที่สวนหลังบ้าน ของนายพลเอ็ดเวิร์ค มอร์ตเล็คสตัคต์ ที่ออ็กสตันเฮาส์ หมู่บ้านพิตต์ รอยเท้านี้ได้ตรงไปที่สวนซึ่งหายไปที่บ้านหลังหนึ่ง
รอยเท้าประหลาดนี้ยังปรากฏตัวไปอีกที่ที่สวนเมืองลิมสโตนราวกับบอกว่าพวกมันกำลังเต้นระบำ
หนังสือพิมพ์เอ็กซีเตอร์แอน ฟรีมัทกาเซ็ท ของวูลเม่อร์ ได้รายงานว่า แทบไม่มีสวนของใครเลยที่ไม่ปรากฏรอยเท้าประหลดเหล่านี้ มีนักบวชคนหนึ่ง ชื่อ ท่านสาธุคุณแอลลาคอมบ์ ได้บันทึกว่า ที่บ้านหลังหนึ่งที่เมืองมาร์เลย์ ใกล้เมืองเอ็กซมัท มีรอยเท้าประหลาดเหล่านี้ปรากฏตามขอบหน้าต่างเกือบทุกบ้าน นอกจากนี้ยังปรากฏตามท้องทุ่ง สวนผลไม้  บางแห่งรอยเท้าได้บ่บอกว่ามันลอดเข้าไปในในท่อระบายน้ำเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 6 นิ้ว
และน่าเหลือเชื่อคือ...... เจ้าของรอยเท้าประหลาดนี้ยังถ่ายอุจจาระไว้ด้วย อุจจาระของมันมีลักษณะกลมรี สีค่อนข้างขาวมีขนาดและลักษณะคล้ายผลองุ่นขนาดใหญ่

น่าเสียดายเรื่องราวประหลาดนี้ไม่มีผู้เชี่ยวชาญใดเป็นผู้ตรวจสอบ ว่ามันคืออะไรกันแน่ ทำให้เรื่องนี้ถูกเก็บในแฟ้มเรื่องลึกลับพิศวงมานานกว่า 50 ปี จนกระทั้ง........

นางสาว ทีโอ บราวน์ นักศึกษามหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ได้นำเหตุการณ์นี้มาทำการศึกษา พบว่ารอยนี้ปรากฏตามเมืองต่างๆ ทางปากแม่น้ำเอ็กซ์ เช่น เมืองเทนมัส, ดอร์ลิช, สตาร์ครอส, เคนตัน, แมนเฮ็ด และเพาเดอร์แฮม ซึ่งอยู่ทางตะวันตกแม่น้ำเอ็กซ์
เธอไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มันเป็นสัตว์เร้นลับหรือเปล่า? แต่จากการสันนิษฐาน จากสัตว์ตัวนี้น่าจะเป็นสัตว์ประเภท ลา ม้า ที่ผสมกัน แต่ดูจากรอยเท้า บ่บอกว่ากีบของมันมีน้ำแข็งติดอยู่ ไม่น่าจะเป็นฝีมือของมนุษย์เพราะถ้ามนุษย์จะทำรอยเท้านี้ขึ้นมามันต้องใช้รองเท้าที่ทำด้วยเหล็กที่ยุ่นไฟให้ร้อนและมานำมาวางตามสถานที่ต่างๆ ภายในคืนเดียว
ปี 1952 ในหมู่บ้านเล็กๆ ที่สก็อตแลนด์  รอยเท้าปีศาจนี้ก็ปรากฏขึ้นประหลาดเหมือนมณฑลเดวอน รอยเท้าประหลาดบ่บอกว่าเจ้าของรอยเท้ากระโดดข้ามถนนและหยุดบนต้นสน และหลังจากนั้นก็ทิ้งช่วงขาดขาไปตรงข้ามกับบริเวณของหมู่บ้าน
นอกจากนี้รอยเท้าประหลาดนี้ก็ปรากฏที่แคนาดา ในปี 1924 มันปรากฏอยู่ตามแผ่นน้ำแข็งในทะเลสาบแห่งหนึ่ง มันเดินเป็นแนวทอดยาว

จากการสันนิษฐานเหตุการณ์ประหลาดเหล่านี้น่าจะเกิดเพราะลักษณะของดินฟ้าอากาศ โดยเกิดจากกระแสน้ำอุ่นที่ได้ลอยกระทบกับอุณหภูมิที่ลอยต่ำลงมา ซึ่งทำให้เกิดไอน้ำขึ้น เมื่อไอน้ำได้ลอยไปกระทบพื้นที่บริเวณนั้นปกคลุมด้วยหิมะ มันก็อาจทำให้น้ำเกิดการพองตัวขึ้นจนเกิดรอยดังกล่าว
แต่ถ้ารอยเท้าประหลาดนี้เกิดจากสัตว์เร้นลับที่ไม่เคยพบเห็น หรือรู้จักมาก่อน มันจะต้องเป็นสัตว์ที่มีส่วนผสมของสัตว์หลายชนิด สามารถรอดพุ่มกลูเบอรี่ได้ ขึ้นไปเหยียบขอบหน้าต่างตึกชั้นที่สอง และเดินลอดท่อระบายน้ำที่มีขนาดเพียง 6 นิ้วได้
อะไรที่เป็นเหตุให้เจ้าสัตว์เหล่านั้นออกมาเดินเพ่งพานตามสถานที่ต่างๆ และทิ้งรอยเท้าให้เกลื่อนไปทั่วบริเวณเช่นนี้ ไม่มีใครตอบได้ เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมารอยเท้าประหลาดเหล่านั้นก็ไม่ปรากฏตัวให้เราได้พบเห็นอีกเลย

ตำนานลี้ลับและเรื่องที่น่าสนใจของโลก

กำแพงแก้ว
 
 
ในขุนเขาทมึนแห่งสก๊อตแลนด์มียอดเขาสูงตะหง่านสลับซับซ้อน ณ.ยอดเขาชื่อว่า แท็ป โอ นอธ (Tap O'Noth) ซึ่งมีระดับสูง 1,850 ฟุต หรือ 560 เมตร อยู่ห่างจากหมู่บ้านไรยนี (Rhynie) ซึ่งต้องอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของสก๊อตแลนด์หลายสิบไมล์... มองเห็นแต่ไกลว่ามันเป็นยอดเขามีอาณาบริเวณราบเรียบ แต่เมื่อได้ไต่ขึ้นไปถึงยอดเขานั้นจริงๆ แล้วจึงจะได้พบกับลักษณะพิเศษไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร คือมีแนวกำแพงหินสูงรูปวงรีซึ่งแน่นอน ครั้งหนึ่งในอดีต มันเคยเป็นสันกำแพง แนวปราการและเชิงเทินป้อมปราการของปราสาทหรือค่ายศึก ในสมัยโบราณยุคอัศวินใส่เกราะรุ่งโรจน์สมัย British Iron Age

ตำแหน่งกำแพงนี้ตั้งอยู่ในภูมิลักษณะที่พิเศษมาก เพราะสามารถมองลงไปในหุบเขาเบื้อล่าง เห็นได้ทั้งเขตอะเบอร์ดีนเชียร์อันกว้างใหญ่ (Aberdeenshire)... สิ่งที่แปลกน่าอัศจรรย์สำหรับกำแพงนี้ก็คือ มันมิได้เป็นกำแพงหินธรรมดาๆ หากแต่ว่ามันทำขึ้นจากหินที่หลอมละลายติดกันเป็นสันกำแพง มีการนำเอาหินมาก่อเรียงกันเป็นกำแพงแล้วหลอมให้มันละลายเชื่อมติดกันอย่างนั้นหรือ? ถูกแล้วครับ ถ้าใครได้ไปเห็นกับตามก็ต้องบอกว่าใช่แน่..เพราะยังปรากฏส่วนของกำแพงหินที่เป็นก้อนๆ ตั้งเรียงซ้อนกันอยู่ ซึ่งแตกหักออกเป็นช่องโหว่กว้างๆ ตั้งอยู่ให้เห็นอย่างชัดเจน มีส่วนที่ตั้งเป็นก้อนเดี่ยวๆ มีลักษณะหลอมตัวและเป็นสีดำเหมือนถ่าน...ปัญหาน่าฉงนรึครับ... คนสร้างกำแพงหินเหล่านี้มีเทคโนโลยีอะไรที่สามารถให้ความร้อนขนาดหลอมหินให้ละลายได้?... ตอบได้ไหมครับ.. ก้อนหินเหล่านั้นได้รับความร้อนอย่างมหาศาลจนหลอมละลายเกาะกันเป็นแผงกำแพง ความร้อนซึ่งต้องร้อนอย่างมากนั้น ได้ทำให้สิ่งประหลาดเดขึ้นตามมาเมื่อก้อนหินเย็นตัวลง ทั้งกำแพงก็กลายเป็นสารชนิดใหม่ขึ้นมา ไม่ใช้หินภูเขาเหมือนเดิม แต่มีความแข็งและใส (ขุ่น ๆ) เหมือนแก้ว.. ซึ่งนักโบราณคดีเรียกมันว่า "กำแพงแก้ว" (vitrified)

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ภารกิจที่ 2 “ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”

“ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”
คุณค่าด้านเนื้อหา          กลวิธีการแต่ง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ
          ส่วนนำ  กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ
          เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  เช่น
          "...ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น  ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ "ลำเลิก"  กับใคร ๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา  คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน..."
          ส่วนสรุป  สรุปความเพียงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง  ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา  ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า
          "ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป..."
          สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า
          "เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน  คือ  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง"
                                                       หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ  ข้าวเมล็ดหนึ่ง
                                                       จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
                                                       รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
                                                       แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
                                                       ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  ชาวนายังพรวนดิน
                                                       เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
                                                       ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
                                                       ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
                                                            เปิบข้าวทุกคราวคำ                      จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                       เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                                                           ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                                                       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                            และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                           จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                                       จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                                       ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                 จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                                                       สายเลือดกูท้งสิ้น                                ที่สูชดกำชาบฟัน
          บทกวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย  แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน  คือ  แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือ  ชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์  ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยายเรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง  อย่างไรก็ตามแนวคิดของกวีทั้งสองคนคล้ายคลึงกัน  คือ  ต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยต้องประสบกับความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน
       

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ภารกิจที่ 1 เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์
มงคล มีความหมายตามพจณานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้อธิบายความหมายของคำว่า "มงคล" ไว้ว่า หมายถึง เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญหรือสิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่ และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย ตามหลักพระพุทธศาสนา มงคล หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญมีทั้งสิ้น ๓๘ ประการ

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมา  สมฺพุทฺธสฺสฯ
ต้นมงคลสูตร


          1.          ยญฺจ  ทฺวาทส  วสฺสานิ  จินฺตยิสฺ  สเทวกา
                       สิบสองฉนำเหล่า                              นรอีกสุเทวา
                       รวมกันและตริหา                               สิริมังคลาใด
          2.          จิรสฺสํ จินฺตยนฺตาปี                         เนว ชานิสุ  มงฺคลํ
                       จกฺกวาฬสหสฺเสสุ                          ทสสุ เยน ตตฺตกํ
                       กาลํ  โกลาหลํ ชาตํ                       ยาว  พฺรหฺมนิเวสนา
                       เทวามนุษทวี                                   พหุภพประเทศใน
                       หมื่นจักระวาฬได้                              ดำริห์สิ้นจิรังกาล
                       แล้วยังบ่รู้มง -                                  คะละสมมโนมาลย์
                      ด้วยกาละล่วงนาน                             บ่มิได้ประสงค์สม
                      ได้เกิดซึ่งโกลา -                               หะละยิ่งมโหดม
                      ก้องถึง ณ ชั้นพรหม                          ธสถิตสะเทือนไป
          3.          ยํ โลกนาโถ  เทเสสิ
                       องค์โลกนาถเทศน์                           วรมังคะลาใด

ทั้งสามบทนี้มีใจความสำคัญว่า
คาถาบทที่ 1          ไม่ควรคบคนชั่วเพราะจะพาให้เราประพฤติชั่วไปด้วย  ควรคบคนดีมีความรู้เพราะจะนำเราไปสู่ความ.         สำเร็จ  และควรบูชาคนดี
คาถาบทที่ 2          ควรปฏิบัติตนและอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควรแห่งตน  ทำบุญไว้แต่ปางก่อน
คาถาบทที่ 3          รู้จักฟัง  รู้จักพูด  มีวินัย  ใฝ่ศึกษาหาความรู้


เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง

เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง
             หัวข้อนี้ทำให้ฉันนึกถึงการปกครองของประเทศไทย ซึ่งฟังเสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินเรื่องทุกอย่างที่หาทางแก้ไขด้วยวิธีอื่นไม่ได้ คือการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประชาธิปไตย คือหลักเสียงข้างมาก ยึดถือ หลักนิติศาสตร์ หลักรัฐศาสตร์ เป้าหมายเพื่อความเท่าเทียม และทั่วถึง และตอบโจทย์...ของทุกๆคนในระบอบ
และ หลักเสียงส่วนใหญ่ คือ เสียงที่มากที่สุด จะเป็นผู้ตัดสินใจ หรือ มีสิทธิ์สมบูรณ์ ไม่ได้แปลว่าเท่าเทียม ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่มาจากเสียงส่วนใหญ่จะถูกต้อง เพราะฉันคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีความคิดเพื่อผลประโยชน์ของตนเองทั้งนั้นไม่ว่าจะชนชั้นหรือชนชาติใด ฉันจะยกตัวอย่างอธิบายง่ายๆเช่น ชาวชนบทรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องเสรีภาพที่พวกเขาควรได้รับในการดำเนินชีวิตหรือการประกอบอาชีพมาประท้วงหน้ารัฐสภา เราก็เปรียบได้ว่าชาวชนบทเป็นเสียงส่วนน้อย ส่วนคนในรัฐสภาเป็นเสียงส่วนใหญ่ เราไม่รู้หรอกว่าเสียงไหนถูก แต่ฉันคิดว่าเสียงส่วนใหญ่มีอำนาจที่จะทำให้เสียงส่วนน้อยสิ้นเสียงลงเช่น การยัดเงินเพื่อปิดปาก หรือขู่ทางอ้อม นี่ก็เป็นปัญหาทางการเมืองอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเราต้องร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน แต่เราก็ยังสรุปไม่ได้ว่าเสียงส่วนใหญ่นั้นผิดจริงหรือเปล่า เพราะคนยากที่มองโลกสองแง่ส่วนมากก็จะมองแค่แง่ที่ตนเองชอบหรือเข้าข้างเท่านั้น 
              อาจจะยกตัวอย่างด้านศาสนา คือ ถ้ามีคนอยู่ 20 คน แล้วให้ทั้ง 20 คนตอบคำถามว่า"อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้าคือใคร  ระหว่าง พระมหาโมคคัลลานะ กับ พระสารีบุตร"ถ้า 19 คนตอบว่า พระสารีบุตร คืออัครสาวกเบื้องซ้าย   และอีก 1 คนตอบว่า พระมหาโมคคัลลานะ คืออัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้ที่ตอบเหมือนกันทั้ง 19 คน ถือว่าเป็นเสียงข้างมากตอบผิดหมด และมีเพียง 1 คนเท่านั้นที่ตอบถูก คือตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเสียงข้างมากไม่จำเป็นต้องถูกต้องหรือชนะเสมอไป


สำหรับพรรคการเมืองหนึ่งถ้าเขาเป็นเสียงส่วนน้อย เขาจะเรียก เสียงข้างมาก ว่าผด็จการรัฐสภา

แต่ถ้าเขาได้เป็นระฐบาล เขาจะเรียกเสียงข้างมากว่า กระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย

ใครย้ายเข้าพรรคเขา เขาจะเรียกว่า ผู้มีอุดมการณ์ร่วมกัน
ใครย้ายออกจากพรรค เขาเรียก ถูกซื้อตัว

   มีคำพูดของนักการเมืองพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
           เนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีการเลือกตั้ง ซึ่งในระบบรัฐสภาที่มี ส.ส.หรือ ส.ว.เป็นตัวแทนของประชาชน ที่มีการถกเถียงปัญหาต่างๆ ในสภาฯ และมีการออกเสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ต้องยอมรับในเสียงข้างมากว่าถูกต้อง หากเสียงข้างมากไม่ถูกต้อง ส.ส.ทั้งหมด ไม่ว่าตนเองหรือหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะอยู่ในตำแหน่งผู้แทนสภาฯ ไม่ได้ เพราะ ส.ส.ได้รับการคัดเลือกมาจากเสียงข้างมาก จึงอยากให้ยอมรับในเสียงข้างมาก
          ฉะนั้น ถ้านักการเมือง อ้างเสียงส่วนใหญ่ในระบอบประชาธิปไตย ไปทำสิ่งที่ขัดต่อจริยธรรม ขัดต่อกฏหมาย เช่น ..... ให้พาสปอร์ตนักโทษหนีคดีอาญา .... แก้รัฐธรรมนูญ ล้างผิดให้นักโทษหนีคดีอาญา.......ให้บำเหน็ดคนชั่วเผาบ้านเผาเมืองด้วยภาษีประชาชน..... ถ้าทำเฉกเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย... ก็ต้องเรียกว่าระบอบเสียงข้างมาก...ที่มาจากคนส่วนใหญ่ที่ไม่เสียภาษีเงินได้ และ ด้อยการศึกษา.....